image alt image alt

บทความ

พลาสติกตัวร้ายต่อสิ่งแวดล้อม

พลาสติกตัวร้ายต่อสิ่งแวดล้อม

จากการสำรวจ ผู้บริโภค 88,000 คนใน 26 ประเทศทั่วโลก  ประเภทวัสดุที่ใช้สำหรับแพคเกจจิ้ง หรือ บรรจุภัณฑ์ สามารถสรุปได้ว่าวัสดุจากพลาสติกคือตัวร้ายต่อสิ่งแวดล้อม ทำ 5 อันดับแรก ล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุจากพลาสติกทั้งนั้น  ถุงพลาสติก ถือเป็นวัสดุที่แย่ที่สุดในความคิดของผู้บริโภค  ตามมาด้วย ขวดพลาสติก  เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นพลาสติก เช่น หลอดพลาสติก ช้อนพลาสติก รวมทั้ง เหล่า soft plastic พวก ฟิลม์พลาสติกที่ใช้ห่อสินค้า ( wrapped vegetable)

 

หรือแม้กระทั่ง 19 % ของผู้บริโภค มองว่า ถาดพลาสติกที่ใช้สำหรับ Ready Meal มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมในอันดับต้น ๆ เช่นกัน   จากการสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคให้ถึง 93% ให้ความสนใจกับบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือ ทำจากวัสดุรีไซเคิลแต่เนื่องจาก   Label ที่แสดงถึงสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่มักถูกนำไปอยู่ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์  ทำให้ผู้บริโภคเพียงส่วนน้อยที่ตั้งใจมองหาอย่างจริงจัง

แน่นอนผู้บริโภคล้วนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น Kantar ได้แบ่ง Eco–Segmentation ออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. Eco-Actives นักช็อปที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และลงมือปฏิบัติ
  2. Eco-Considerers นักช็อปที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม แต่แทบไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
  3. Eco–Dismissers นักช็อปที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเล็กน้อยหรือไม่มีเลย และไม่ได้ลงมือปฏิบัติ

ความน่าสนใจอยู่ที่กลุ่ม Eco-Actives ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2020 และ 6% หากเทียบกับปี 2019 ในขณะที่กลุ่ม Eco-Dismissers มีจำนวนลดลง โดย ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะกลายเป็นกลุ่ม Eco-Actives ก่อนปี 2030 แม้ว่า Eco-Actives อาจจะเป็นส่วนน้อยในตอนนี้ แต่ Kantar คาดการณ์ว่าจะมีขนาดเพิ่มขึ้น 2 เท่าใน 6 ปีข้างหน้า และคิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลกภายในปี 2029

 

ข้อมูลบางส่วน : www.marketingoops.com/reports/behaviors/kantar-sec-strategy/