เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
“เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” ประโยคฮิตติดปากที่หลายคนมักพูดกันเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะฝนตกหนัก ร้อนจัด หรือเฉกเช่นตอนนี้ ที่ลมหนาวกำลังพัดหวนมาอีกครั้ง
ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตมรสุมที่ร้อนชื้น และอยู่บริเวณใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร ทำให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีลักษณะอากาศที่แตกต่างไปจากพื้นที่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก ซึ่งหนึ่งในฤดูของประเทศไทยที่หลายคนมักบอกว่าไม่มีจริงคือ 'ฤดูหนาว'
“ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่” ท่อนหนึ่งของเพลงปล่อยมันไป (Let’s it go) นี้อาจตรงใจใครหลาย ๆ คน เพียงเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สัมผัสอากาศหนาวสักเท่าไหร่ ยกเว้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่บางพื้นที่ต้องประสบภัยหนาว แต่นั่นไม่ได้แปลว่าพื้นที่อื่น ๆ ของไทยไม่หนาวเลย เพราะหลายคนละเลยการดูแลสุขภาพในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่หน้าหนาวตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2561 อย่างเป็นทางการ และลมหนาวที่หวนกลับมาอีกครั้ง ย่อมนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บโดยที่เราไม่รู้ตัว เพียงเพราะเราคิดว่า "ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่”
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ซึ่งในวันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. ขอนำเสนอ วิธีป้องกันโรคสุดฮิตที่มาพร้อมกับหน้าหนาว เพื่อให้คุณผู้อ่านเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
1. โรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อทางจมูก ปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่สาธารณะ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ไม่ถือเป็นโรคร้ายแรง ส่วนมากให้ดูแลตามอาการ และจะหายเองได้ภายใน 3-5 วัน โดยมีวิธีดูแลดังนี้
ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มี 2 ชนิด คือ ชนิดครอบคลุม 3 สายพันธุ์ และชนิดครอบคลุม 4 สายพันธุ์ ซึ่งได้ผลดีทั้งสองชนิด แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายหากอาการไม่ทุเลาควรพบแพทย์ อย่างไรก็ตามไม่มีใครที่อยากป่วยจึงขอแนะนำวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ดังนี้
2. โรคติดเชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ โดยนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ได้แนะนำเอาไว้ดังนี้
3. โรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อในปอด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ติดต่อทางจมูก ปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่ สาธารณะ หากมีอาการของโรคปอดบวมไม่แนะนำให้รักษาด้วยตนเอง แต่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน สำหรับการติดต่อของโรคและการป้องกันโรคปอดบวมนั้น เหมือนกันกับโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
4. โรคสุกใส หรือโรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะน้ำจากตุ่มน้ำและติดต่อได้ทางอากาศ โดยมีอาการ มีไข้เบื่ออาหาร อ่อนเพลียและปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับมีผื่นขึ้นพร้อม ๆ กับมีไข้หรือหลังจากมีไข้ สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะน้ำจากตุ่มน้ำ และสามารถติดต่อได้ทางอากาศ โดยมีวิธีป้องกันและรักษาดังนี้
5. โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันและควบคุมได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังการขับถ่าย หลังไอ จาม และหลังสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังเช็ดตัว เป็นต้น
6. โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ซึ่งในฤดูหนาวมักจะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อได้โดยการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน สำหรับวิธีการป้องกันและดูแลรักษาเบื้องต้นทำได้ดังนี้
สสส. สนับสนุนให้คนไทยทุกคนดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะด้วยการออกกำลังกาย การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การรับประทานผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด หวานจัด มันจัดจนเกินไป จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงทั้งจากภายในและภายนอก และการออกกำลังกายก็จะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณที่มา https://www.thaihealth.or.th/Content/45498-เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย.html