ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นมีหลายๆเมืองที่น่าท่องเที่ยวและสวยงามแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นไหนก็มีจุดสนใจของแต่ละเมืองไม่แพ้กัน บทความนี้จะแนะนำ เมื่องที่หลายคนอาจจะเคยแค่ผ่านแต่ยังไม่เคยได้เข้าไปเที่ยวอย่างจริงจัง เมืองนั้นคือเมือง “ KITAKYUSHU” ซึ่งถือเป็นเมื่องนิเวศในญี่ปุ่น เมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดของเกาะคิวชูในจังหวัดฟุกุโอกะ (Fukuoka) ซึ่งเชื่อมกับเมืองชิโมโนเซกิ (Shimonoseki) จังหวัดยามากุจิ (Yamaguchi) บนเกาะฮอนชู ที่นี่จึงเป็นเหมือนเมืองทางผ่านของนักท่องเที่ยวที่เดินทางข้ามจากเกาะฮอนชูมาเกาะคิวชู
เมือง คิตะคิวชู ถือเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเมืองนี้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี 2504 เมื่อมีการก่อตั้งโรงเหล็กยาฮาตะ และได้มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องนำมาซึ่งปัญหาสิ่งเเวดล้อมอย่างรุนเเรง โดยกลุ่มเเม่บ้านของเมืองได้สังเกตเห็นน้ำในอ่าวโดไกวันกลายเป็นสีส้ม ท้องฟ้ามีควันปกคลุม ฝุ่นละอองจับตามหลังคาบ้าน จนทำให้คนในชุมชนตื่นตัวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่
ภาพจาก ARASHIYOKO
ปี 2540 รัฐบาลกลาง จึงส่งเสริมการจัดตั้ง eco-town ขึ้นและเปิดโอกาสให้เมืองเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเน้นการนำของเสียมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ มีเป้าหมายคือ อัตราการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ โดยภาคอุตสาหกรรม เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด ตามหลักการ 3Rs ( Reduce, Reuse, Recycle) ได้แก่การลดการใช้การใช้ซ้ำ และการแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่มากมาย เช่น
- โรงงานแยกชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ,โรงงานรีไซเคิลหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ , โรงงานแยกชิ้นส่วนหม้อน้ำรถยนต์คัด .โรงงานเตาเผาขยะชุมชน Kogasaki Incineration Facility เผาขยะชุมชนเพื่อนําความร้อนจากเตาเผาไปผลิตกระแสไฟฟ้าจากระบบไอน้ำร้อน และระบบผลิตไฟฟ้าร่วมจากแก๊ส
- โรงงานคัดแยกขวดพลาสติก แก้ว และกระป๋องโลหะ, นําเศษอาหารจากครัวเรือนมาหมักเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้,การผลิตไฟฟ้าจากพลังลม (Hibikinada Wind Power Generation Facility)
นอกจากนี้ เทศบาลนครคิตะคิวชูมีแนวทางในการดําเนินการรณรงค์เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนในอนาคต ดังนี้
- รณรงค์ให้มีการนําถุงพลาสติกจากบ้านเมื่อไปซื้อของในตลาดหรือห้างสรรพสินค้า หรือปฏิเสธการรับถุงพลาสติกจากร้านค้า
- รณรงค์การเลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยชิ้น
- รณรงค์การเลือกซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนํากลับมาใช้ประโยชน์ได้
- รณรงค์การเลือกซื้อสินค้าที่มีระยะเวลาการใช้งานเป็นเวลานาน หรือซื้อสินค้าเฉพาะที่จําเป็นเท่านั้น
- รณรงค์การไม่รับของที่ไม่จําเป็นทั้งหลายแม้ว่าจะเป็นของที่ได้รับมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
ในด้านสถานที่ท่องเที่ยวเมืองคิตะคิวชู มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่าง ช่องแคบคัมมง (Kammon Kaikyo) เป็นเส้นทางทะเลระหว่างเกาะฮอนชูและคิวชู, จุดชมวิวอย่าง ยอดเขาซาระคุระ (Sarakurayama / Mount Sarakura) เป็นจุดชมใบไม้เปลี่ยนสียอดนิยม หรือ พระอาทิตย์ตก อุโมงค์ดอกวิสทีเรียสวนคาวาจิ (Kawachi Fuji Garden) ซึ่งจะได้ชมดอกวิสทีเรียหลากสีสันสวยสะกดราวกับใช้สีย้อม นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้วยังมี สถานที่อย่าง ท่าเรือโมจิ (Mojiko Port) มีอาคารสไตล์ยุโรปโบราณมากมายในละแวกนี้ , พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์รถไฟคิวชู (Kyushu Railway History Museum), พิพิธภัณฑ์ช่องแคบคัมมง (Kanmonkaikyo Museum), พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีโมจิโค (Orgel Museum Mojiko), วาตาเสะเซโซแกลเลอรี่ (Watase Seizo Gallery), พิพิธภัณฑ์ช่องแคบคัมมงไลฟ์ (Kanmon Strait Live Museum) และห้องของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein Room at Mojiko) ย่านนี้จึงเหมือนสวรรค์ย่อมๆ ของคนที่ชื่นชอบการเสพงานศิลปะและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้คือ ปราสาทประจำเมืองคิตะคิวชู ปราสาทโคคุระภายในตัวปราสาทเป็นพิพิธภัณฑ์และจุดชมวิว ส่วนสวนรอบปราสาทมีต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ ถ้าไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิก็จะสามารถชมซากุระที่มีฉากหลังเป็นปราสาทโคคุระได้
ภาพ: ปราสาท โคคุระ ( www. japan-guide.com)
ภาพ : ยอดเขาซาระคุระ (www. go-graph.com)
เช่นที่ทราบกันว่า เมืองคิวชูคือเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ประสบความสำเร็จ พื้นที่ทั้งหมดมีการปล่อยมลพิษต่ำมาก มีการส่งเสริมการวิจัยด้านปฎิกูล และการรณรงค์ 3 Rs ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ไปถึงเมืองนี้แล้ว ก็ต้องให้ความร่วมมือช่วยกันลดมลภาวะ และมลพิษให้กับเมืองด้วย ที่พอจะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้ถุงพลาสติก หรือ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย แยกขยะก่อนทิ้งให้ถูกต้อง
เเหล่งที่มา : ABACA PROFILE MAGAZINE
: http://ecocenter.diw.go.th
: https://kiji.life/toyosu-market