image alt image alt

บทความ

ดื่มน้ำมากเกินไปอันตรายจริงหรือไม่

ดื่มน้ำมากเกินไปอันตรายจริงหรือไม่

แต่ไหนแต่ไรเรามักได้ยินคำกล่าวที่ว่า เราควรดื่มน้ำปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อคงไว้ซึ่งการทำงานของระบบและอวัยวะภายในที่สมดุล เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย

 รวมทั้งช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกาย ช่วยลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่าง ๆ และช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำมากเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน โดยเฉพาะการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ หรือ Hyponatremia ซึ่งเป็นภาวะที่มีปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง หรือคลื่นไส้อาเจียน

 

 

ผู้สร้าง: ©Michael Krinke Photography  |  เครดิต: ©Michael Krinke Photography ลิขสิทธิ์: ©2012 Michael Krinke. All rights reserved.

 

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากโซเดียม คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำรอบ ๆ เซลล์และภายในเซลล์ มีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต หากปริมาณโซเดียมลดต่ำลง จึงช่วยส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย

 

สำหรับปริมาณน้ำที่พอดีกับร่างกายนั้น U.S.National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine แนะนำว่าในแต่ละวัน ผู้ชายควรบริโภคน้ำ 15.5 แก้ว ส่วนผู้หญิง 11.5 แก้ว ซึ่งในจำนวนนี้รวมปริมาณน้ำที่ได้จากอาหารอื่น ๆ ที่บริโภคไป ไม่ใช่แค่การดื่มน้ำเป็นแก้วตามปกติทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การนับปริมาณแก้วอาจจะยากต่อวัดปริมาณน้ำที่ได้รับในแต่ละวัน วิธีที่ง่ายกว่านั้น อาจใช้การสังเกตดูจากสีปัสสาวะในแต่ละวัน หากสีของปัสสาวะเป็นสีเข้มค่อนไปทางสีส้ม สีเหลืองเข้ม นั่นแปลว่าเราบริโภคน้ำน้อยเกินไป ในทางกลับกันหากสีของปัสสาวะอ่อนจางจนเกือบจะไม่มีสี ก็หมายถึงการบริโภคน้ำที่มากเกินไป ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่ต้องหมั่นสังเกตร่างกายตนเอง เพราะหากเกิดความไม่สมดุล อาจก่อให้เกิดโรคภัยหรือการเจ็บป่วยได้

 

 

 

แหล่งที่มา : WEALTH FOCUS By Krungsri (Issue 27 : Oct - Dec 2023)

แหล่งที่มารูปภาพ : https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=424