image alt image alt

ARTICLE

วิธีดูแลสุขภาพ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

วิธีดูแลสุขภาพ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

อาหารสะอาด ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย ใส่สุขภาพ ออกกำลังการสม่ำเสมอ

 

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

“เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” ประโยคฮิตติดปากที่หลายคนมักพูดกันเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะฝนตกหนัก ร้อนจัด หรือเฉกเช่นตอนนี้ ที่ลมหนาวกำลังพัดหวนมาอีกครั้ง

ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตมรสุมที่ร้อนชื้น และอยู่บริเวณใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร ทำให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีลักษณะอากาศที่แตกต่างไปจากพื้นที่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก ซึ่งหนึ่งในฤดูของประเทศไทยที่หลายคนมักบอกว่าไม่มีจริงคือ 'ฤดูหนาว'

“ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่” ท่อนหนึ่งของเพลงปล่อยมันไป (Let’s it go) นี้อาจตรงใจใครหลาย ๆ คน เพียงเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สัมผัสอากาศหนาวสักเท่าไหร่ ยกเว้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่บางพื้นที่ต้องประสบภัยหนาว แต่นั่นไม่ได้แปลว่าพื้นที่อื่น ๆ ของไทยไม่หนาวเลย เพราะหลายคนละเลยการดูแลสุขภาพในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่หน้าหนาวตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2561 อย่างเป็นทางการ และลมหนาวที่หวนกลับมาอีกครั้ง ย่อมนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บโดยที่เราไม่รู้ตัว เพียงเพราะเราคิดว่า "ความหนาวไม่ทำให้เดือดร้อนสักเท่าไหร่”

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ซึ่งในวันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. ขอนำเสนอ วิธีป้องกันโรคสุดฮิตที่มาพร้อมกับหน้าหนาว เพื่อให้คุณผู้อ่านเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

1. โรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อทางจมูก ปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่สาธารณะ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ไม่ถือเป็นโรคร้ายแรง ส่วนมากให้ดูแลตามอาการ และจะหายเองได้ภายใน 3-5 วัน โดยมีวิธีดูแลดังนี้

  • ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ ดื่มจนปัสสาวะใส ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไป เพราะอาจจะขาดเกลือแร่
  • รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • ในผู้ที่เจ็บคออาจใช้น้ำ 1 แก้ว ผสมเกลือ 1 ช้อน กลั้วคอ อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม

ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มี 2 ชนิด คือ ชนิดครอบคลุม 3 สายพันธุ์ และชนิดครอบคลุม 4 สายพันธุ์ ซึ่งได้ผลดีทั้งสองชนิด แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายหากอาการไม่ทุเลาควรพบแพทย์ อย่างไรก็ตามไม่มีใครที่อยากป่วยจึงขอแนะนำวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น หลอดดูด ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ช้อน
  • หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • ปิดปากปิดจมูกเมื่อไอ จาม หรือสวมหน้ากากอนามัย
  • เมื่อป่วยควรหยุดงาน หยุดเรียน แล้วพักผ่อนอยู่กับบ้านจนกว่าจะหาย

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

2. โรคติดเชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ โดยนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ได้แนะนำเอาไว้ดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยไข้หวัดหรือปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกไม่ควรให้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 
  • หลีกเลี่ยงการนำมือที่ไม่สะอาดมาป้ายจมูกหรือตา ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกัน และทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ  ส่วนกรณีที่มีอาการป่วยควรหยุดพัก โดยเฉพาะนักเรียน และควรปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำจะช่วยทำให้สารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ หรือน้ำมูก ไม่เหนียวจนเกินไป และไม่ไปขัดขวางการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
  • หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น ไอมากหอบเหนื่อย ซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย  ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

3. โรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อในปอด ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ติดต่อทางจมูก ปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่ สาธารณะ หากมีอาการของโรคปอดบวมไม่แนะนำให้รักษาด้วยตนเอง แต่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน สำหรับการติดต่อของโรคและการป้องกันโรคปอดบวมนั้น เหมือนกันกับโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

4. โรคสุกใส หรือโรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะน้ำจากตุ่มน้ำและติดต่อได้ทางอากาศ โดยมีอาการ มีไข้เบื่ออาหาร อ่อนเพลียและปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับมีผื่นขึ้นพร้อม ๆ กับมีไข้หรือหลังจากมีไข้ สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะน้ำจากตุ่มน้ำ และสามารถติดต่อได้ทางอากาศ โดยมีวิธีป้องกันและรักษาดังนี้

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีไข้ควรกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล
  • ควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการเกาตุ่มน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
  • ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่อายุมากกว่า 12 ปี ควรพบแพทย์ เพื่อพิจารณารับยาฆ่าเชื้อโรคสุกใส
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพรหรือยาเขียวมารับประทานเอง เนื่องจากอาจมีสารสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้โรคสุกใสมีอาการแย่ลง
  • ผู้ที่มีอาการป่วย ควรให้หยุดเรียนพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

5. โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันและควบคุมได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังการขับถ่าย หลังไอ จาม และหลังสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังเช็ดตัว เป็นต้น

  • ผู้ปกครองควรแนะนำสุขอนามัยแก่บุตรหลานและผู้ดูแลเด็กโดยเฉพาะการล้างมือ
  • สถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่ เช่น เช็ดถูอุปกรณ์ เครื่องเรือน เครื่องเล่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  • ในโรงเรียนอนุบาล/ประถมศึกษา ควรเพิ่มความรู้เรื่องโรคและการป้องกัน
  • หากเด็กมีอาการป่วยซึ่งสงสัยว่าจะเป็นโรคมือ เท้า ปาก อย่าให้คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กอื่น หากเด็กมีตุ่มในปากโดยที่ยังไม่มีอาการอื่นให้หยุดเรียนและพักอยู่ที่บ้านก่อน หากอาการรุนแรงขึ้นเช่น ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมดื่มน้ำต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่เด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ให้หยุดเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยนับจากวันเริ่มป่วย
  • การทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ ที่เด็กป่วยสัมผัสให้ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกปกติก่อน แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น คลอรอกซ์ ไฮเตอร์ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย thaihealth

6. โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ซึ่งในฤดูหนาวมักจะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อได้โดยการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน สำหรับวิธีการป้องกันและดูแลรักษาเบื้องต้นทำได้ดังนี้

  • เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาด
  • หากจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็น ส่วนอาหารสำหรับทารกไม่ควรเก็บข้ามมื้อ และก่อนนำมารับประทานควรอุ่นให้ร้อน
  • ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อน%B