image alt image alt

ARTICLE

8 เคล็บลับดูแลสุขภาพในหน้าร้อน

8 เคล็บลับดูแลสุขภาพในหน้าร้อน

8 เคล็บลับดูแลสุขภาพในหน้าร้อน thaihealth

แฟ้มภาพ

ในหน้าร้อน ยามกระหายน้ำ ทุกคนมักนึกถึงน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำ อัดลม หรือไอศกรีม หรือหากอากาศร้อนมากๆ ถ้าอยู่บ้านมักใช้วิธีเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศจ่อถึงเนื้อถึงตัวทั้งวันทั้งคืน หรือบางคนนิยมไปหลบความร้อนตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ความเคยชินหลายอย่างอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้มากโดยที่เราคาดไม่ถึง

สาเหตุแห่งโรคที่มากระทบร่างกายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและฤดูกาลมี 6 ปัจจัยด้วยกัน คือ ลม แดดร้อน ความชื้น ความแห้ง ความเย็น และไฟ (ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย) ซึ่งแต่ละปัจจัยมีผลกระทบต่อการปรับตัวของร่างกายแตกต่างกัน ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือเพราะภาวะของร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้ และนี่คือ 8 วิธีดูแลสุขภาพในหน้าร้อน

1. ไม่ควรกินน้ำแข็งหรือดื่มน้ำเย็นจัด

ฤดูร้อน อากาศร้อน ต้องหาทางช่วยดับความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนกระทบร่างกายมากเกินไป เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่วิธีการให้ความเย็นแทนที่มากเกินไป เช่น กินน้ำแข็ง อยู่ในที่ที่มีความเย็น กินแต่อาหารที่มีความเย็น ฯลฯ นับว่าไม่เหมาะสม โดยทั่วไป เรามักดื่มน้ำเย็นๆ น้ำใส่น้ำแข็ง น้ำชาแช่เย็นหรือใส่น้ำแข็ง น้ำอัดลม ผลไม้แช่เย็น เช่นแตงโม สับปะรด ฯลฯ ของเย็นๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร น้ำเย็นปริมาณมากจะไปเจือจางน้ำย่อย และมีผลให้เลือดที่มาหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหารเพื่อทำการย่อยลดน้อยลง ทำให้สมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง ก่อให้เกิดโรคกระเพาะลำไส้อักเสบได้ง่าย คนที่เป็นโรคกระเพาะและเป็นแผลอักเสบอยู่แล้วก็จะกำเริบได้ง่าย หรือคนที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ หากดื่มน้ำเย็นก็จะยิ่งทำให้มีอาการไอและหอบมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำแข็งที่ไม่สะอาดก็มีส่วนทำให้เกิดท้องร่วงท้องเสียอีกด้วย

2. เครื่องดื่มที่เหมาะสมในหน้าร้อน

ในฤดูร้อนที่เรามีการสูญเสียน้ำทางเหงื่อมาก การทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปที่ดี คือ การดื่มน้ำเปล่า (ที่สุกแล้ว) หรือถ้าจะเสริมปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เกลือ หรือสมุนไพรอื่นๆ ก็สามารถเลือกได้ตามความชอบและความเหมาะสม เช่น

  • การดื่มชาร้อน น้ำเก๊กฮวยน้ำดอกสายน้ำผึ้ง น้ำใบไผ่ น้ำบ๊วย น้ำถั่ว จะช่วยลดความร้อนของหัว ใจ (การไหลเวียนเลือด) ทำให้ตาสว่าง เพิ่มน้ำในร่างกาย บำรุงตับ บำรุงไต เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อยและดูดซึมอาหาร  ขับปัสสาวะเสริมพลังร่างกาย
  • การเติมน้ำตาลและเกลือ(ในปริมาณที่พอเหมาะ) ในเครื่องดื่มต่างๆ จะช่วยเสริมพลังและป้องกันการสูญเสียเกลือโซเดียมของร่างกายได้ โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือใช้แรงงานมาก
  • การดื่มน้ำชาหรืออาหารสมุนไพรที่ร้อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการขับเหงื่อ กระจายความร้อน สังเกตได้ว่าหลังจากกินอาหารดังกล่าวจะทำให้รู้สึกสบาย สรรพคุณของสมุนไพรก็เพื่อทำให้ภายในร่างกายไม่ร้อนเกินไป และสร้างน้ำเพื่อไม่ให้เสียเหงื่อมาก แต่ไม่ควรดื่มน้ำชาใส่น้ำแข็ง เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี

3. ไม่ควรนอนให้ลมหรือ  ความเย็นโกรก

ความร้อนจากลมแดดทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับ ตากลมในขณะเหงื่อออก  จะทำให้อุณหภูมิผิวของร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อไม่สามารถระบายออกได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สด ชื่นแจ่มใส หรืออาจทำให้เป็นหวัดได้ การใช้พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศไม่ควรให้กระทบโดยตรงกับร่างกายนานๆ โดยเฉพาะที่บริเวณท้อง หากโดนลม นานๆ จะทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได้ หรือคนที่พลังพร่อง เมื่อโดนลมนานๆ จะทำให้เกิดความเย็น โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้า ทำให้การไหลเวียนเลือดน้อยลง คนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ เวลาออกจากห้องต้องระวังการปรับตัวกับอากาศที่ร้อนภายนอก เด็กที่ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าต้องระวัง เพราะการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่รวดเร็วจะทำให้ไม่สบายได้ง่าย

4. การนอน การพักผ่อน

โดยธรรมชาติของฤดูร้อน กลางวันจะยาว กลางคืนจะสั้น (คนทั่วไปที่ไม่ได้นอนในห้องปรับอากาศที่ปรับอุณหภูมิ) กว่าอากาศจะเย็นสบายให้นอนหลับได้ก็มักจะดึก แล้วตอนเช้าตรู่ท้องฟ้าก็สว่างเร็ว ทำให้ต้องตื่นเช้ากว่าที่เคยเป็น หน้าร้อนเราจะนอนได้น้อยกว่าปกติ ขณะเดียวกันอุณหภูมิในตอนกลางวันจะทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เหนื่อยง่าย (เพราะมีเลือดไหลเวียนมาที่ผิวกายมากกว่าปกติ แต่ไปเลี้ยงสมองหรือไป ที่ระบบการย่อยอาหารน้อยกว่าปกติ) ทำให้ไม่ค่อยสดชื่น สมองไม่ปลอดโปร่ง รู้สึกง่วงตลอด

ในภาวะเช่นนี้ หลายคนที่อยู่ในห้องปรับอากาศอาจจะไม่ค่อยรู้สึกกับการเปลี่ยนของอากาศมากนัก แต่สำหรับคนทั่วไป (โดยเฉพาะคนในชนบทหรือคนที่ต้องทำงานในที่กลางแจ้ง) การได้พักผ่อนนอนหลับในช่วงกลางวันบ้าง จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยเลย ผู้ที่ทำงานในที่ทำงานคงจะนอนหลับกลางวันไม่สะดวก อาจใช้วิธีนั่งพิงพนักตัวตรง หลับตา สงบนิ่งๆ ในช่วงกลางวัน ก็เป็นการพักผ่อนที่ดี แต่สำหรับผู้ที่สถานทีอำนวยที่จะนอนหลับช่วงกลางวันนั้น ท่าที่นอนควรเป็นท่านอนราบหรือนอนตะแคง ห้ามนอนคว่ำ หรือนอนฟุบบนโต๊ะทำงาน เพราะจะกดท้อง กดทรวงอก กระทบการหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อไม่คลายตัวจึงผ่อนคลายไม่เต็มที่

5. อาหาร

ในหน้าร้อนระบบการย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว การปฏิบัติตัวสำหรับการกินอาหารที่เหมาะสมในหน้าร้อนนั้น พอสรุปได้ ดังนี้

  • ข้าวต้มมื้อเช้า ตอนตื่นนอน ท้องจะว่างเนื่องจากกระเพาะอาหารพร่อง ควรเริ่มต้นมื้อเช้าด้วยอาหารอ่อนๆ เพราะในหน้าร้อน ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากความร้อนทั้งกลางคืนและกลางวัน ทำให้สูญเสียน้ำ การทำงานของระบบย่อยและดูดซึมอาหารลดลง จึงยิ่งต้องถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่จะย่อยสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย ข้าวต้มอาจผสมถั่วเขียว, เมล็ดบัว หรือรากบัว ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน เสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม
  • ควรกินผลไม้ที่แพทย์แผนจีนถือว่ามีคุณสมบัติเย็น ขับร้อน เพิ่มน้ำในร่างกาย ผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น เช่น แตงกวา, แตงโม, แตงไทย, มังคุด, สับปะรด, สาลี่ เป็นต้น เหมาะสำหรับ กินแก้กระหายและขับร้อนในร่างกาย แต่ไม่ควรแช่เย็นจัด หรือกินในตอนกลางคืน หรือขณะที่ท้องว่างหรือเวลาหิวจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทฤษฎีแพทย์จีนถือว่า