ครม.ผ่านโรดแมปกำจัดขยะพลาสติก ตั้งเป้าภายในปีนี้เลิกใช้พลาสติกฝาขวดน้ำดื่ม และภายในปี 65 เลิกถุงพลาสติกชนิดบาง กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติกและแก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียว ขณะที่ภายในปี 70 รีไซเคิลพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ คาดลดงบกำจัดขยะได้ปีละ 3.9 พันล้าน
ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 17 เมษายนนี้ พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ครม.เห็นชอบร่างโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ตามที่นายกฯ มีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมลดใช้วัสดุพลาสติกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดย ทส.ได้จัดทำร่างโรดแมปเพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในภาพรวมของประเทศ และเป็นการจัดการแบบบูรณาการของหน่วยงาน กำหนดทิศทาง การดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกของประเทศ
ทั้งนี้ แบ่งเป็นเป้าหมายที่ 1 ลด เลิกใช้พลาสติก และใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็นสองช่วง คือภายในปี 2562 จะให้เลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ประกอบด้วยพลาสติกฝาขวดน้ำดื่ม, พลาสติกผสมสารออกโซ และพลาสติกผสมไมโครบีด และระยะที่สองจะยกเลิกให้ใช้ภายในปี 2565 อีก 4 ชนิด คือพลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร, หลอดพลาสติก ที่มีข้อยกเว้นสำหรับใช้กับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
พล.ต.อธิสิทธิ์กล่าวว่า เป้าหมายที่ 2 จะเป็นการนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยจะมีการศึกษาและกำหนดเป้าหมายในส่วนที่จะนำกลับมาใช้ประโยชน์ ขณะที่ของเสียจะถูกนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยแผนปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 มาตรการ คือ 1.มาตรการลดการใช้ขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยจะมีการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.มาตรการ ลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยขับเคลื่อนการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 3.มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค โดยจะมีการส่งเสริม สนับสนุนการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์
สำหรับกลไกการจัดการจะมี 4 กลไก คือ 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการการ 2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ 3.ใช้เครื่องมือและกลไกที่เหมาะสม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกภาคส่วน เร่งออกกฎหมาย และ 4.การจัดทำฐานข้อมูลขยะพลาสติกของประเทศ ทั้งนี้ ผลที่จะได้รับจากโรดแมปดังกล่าว คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 7.8 แสนตันต่อปี และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3.9 พันล้านบาทต่อปี.
สินค้าเราทำมาจากกระดาษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เราตระหนักถึงสิ่งนี้เสมอมา โดยเป็นแนวคิดของทางผู้บริหาร Utray ที่อยากให้คนไทยได้ใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยกตัวอย่างเช่น ถาดกระดาษ จานกระดาษ หลอดกระดาษ หรืออื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้แทนพลาสติกหรือโฟมที่ทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องยอมรับว่าหลายๆประเทศมีการปรับตัวมานานพอสมควรแล้ว กับการใช้กระดาษมาแทนที่ของโฟมหรือพลาสติก ทางผู้บริหารของ Utray มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ได้มองเห็นตรงนี้และนำสิ่งเหล่านี้มาบริหารจัดการและจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยได้ปรับตัวและก้าวทันโลกยุคที่ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์จากกระดาษจะมาแทนที่โฟมและพลาสติกที่ย่อยสลายยากในอนาคตต่อไป
นึกถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ปลอดภัยต้อง Utray
ขอบคุณที่มาข่าว https://www.thaipost.net/main/detail/33855