image alt image alt

ARTICLE

หลอดกระดาษรักษ์โลก ช่วยแก้ปัญหาขยะบนโลกได้

หลอดกระดาษรักษ์โลก ช่วยแก้ปัญหาขยะบนโลกได้

 

ปัญหาขยะบนโลกใบนี้ เป็นปัญหาที่แต่ละประเทศยังมีวิธีกำจัดได้ไม่ดีพอ โดยเฉพาะขยะพลาสติก ซึ่งระยะเวลาในการย่อยสลายขยะพลาสติกอาจต้องใช้ระยะเวลานานถึง 450 ปี เมื่อขยะเหล่านี้ลงสู่ทะเลจะทำลายระบบนิเวศทางทะเล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเรือนกะจกจากก๊าซมีเทนที่มาจากการฝังกลบขยะพลาสติก และประเทศไทยยังถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ในการเป็นประเทศที่ก่อขยะทางทะเล


ทางเลือกนึงที่จะช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลก คือการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ เข้ามาทดแทนพลาสติก  
 

หลอด เป็นของใช้อย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ดูดน้ำหรือเครื่องดื่ม โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยปกติแล้วหลอดจะถูกผลิตขึ้นมาจากพลาสติก ใช้งานแล้วทิ้งหรืออาจนำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำหลอดจากพลาสติกสู่กระดาษจึงเป็นทางเลือกนึงในการช่วยลดมลพิษให้กับโลก


หลอดกระดาษหรือหลอดกระดาษรักษ์โลก เป็นหลอดที่ผลิตขึ้นจากกระดาษ 100% ซึ่งกระดาษก็คือเซลลูโลส มีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ใช้เวลาย่อยสลายเพียง 4-6 เดือน ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการช่วยลดขยะพลาสติกที่จะทำลายระบบนิเวศ อีกทั้งการใช้งานจะเป็นการใช้งานแล้วทิ้งโดยที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งตัวหลอดจะเปื่อยยุ่ยเพราะผลิตจากกระดาษ ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในเรื่องการช่วยรักษาสุขอนามัยและช่วยลดการติดเชื้อ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดในปัจจุบัน และการใช้งานยังมีความเหมาะสม มีความแข็งแรงคงทนใช้งานได้เหมือนหลอดพลาสติกทุกประการ

อย่างไรก็ตามหลอดกระดาษจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าหลอดพลาสติก ต้นทุนการผลิตจะสูงกว่าหลอดพลาสติกอยู่ประมาณ 3-4 เท่าต่อชิ้น ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลอดพลาสติกแล้ว หลอดพลาสติกอาจจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ แต่สังคมอาจจะต้องจ่ายค่าสิ่งแวดล้อมที่สูงจากขยะพลาสติกที่ทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลับกันกับการเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพลาสติก แต่สังคมกลับไม่ต้องจ่ายค่าสิ่งแวดล้อมเลย

 

ขอบคุณที่มาคอลัมน์ https://food.trueid.net/detail/mkdrqgrJvY4R

ขอบคุณรูปที่ 2 จาก https://www.salika.co/2019/11/24/reduce-marine-trash-thailand-sea/

รูปที่เหลือโดย นักเขียน Utray